โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 36 – นิสัยสมัยใหม่ (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 9 ตุลาคม 2566
- Tweet
บรรพบุรุษ (Ancestor) ของเราจำเป็นต้องมีกลไก (Mechanism) ที่มีประสิทธิภาพ (Efficient) ในการรักษาน้ำหนักของร่างกาย ซึ่งทุกวันนี้ กลไกที่ต่อสู้ (Defend) กับการสูญเสียน้ำหนัก มีความแข็งแกร่งกว่ากลไกลที่ป้องกัน (Prevent) การเพิ่มน้ำหนัก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการลดการออกกำลังกาย (Physical activity) จึงมีสหสัมพันธ์ (Correlation) กับการแพร่ระบาด (Epidemic) ของภาวะอ้วนเกิน (Obesity)
ปัจจุบันนี้ อาหารมีราคาถูก และหาได้ทั่วไป (Widely available) เราไม่จำเป็นต้องเผาผลาญ (Burn) พลังงานปริมาณมากในการแสวงหาอาหาร, ในการเดินทาง, หรือในการหาที่อยู่อาศัย (Shelter) เมื่อเปรียบเทียบกับหลายทศวรรษที่ผ่านมา ชาวอเมริกันกินอาหารด้วยปริมาณ (Portion) ที่มากขึ้น และกินอาหารนอกบ้านมากขึ้น
ถัวเฉลี่ยแล้ว ในปี ค.ศ. 2000 ชาวอเมริกันบริโภคแคลอรี่ (Calorie) เกือบ 20% มากกว่า ปี ค.ศ. 1983 และเปอร์เซ็นต์ (Percentage) บริโภคอาหารนอกบ้าน ได้เพิ่มขึ้น 2 เท่า ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1970s กับ 1990s ปรากฏการณ์นี้มาพร้อมกับการบริโภคอาหารจานด่วน (Fast food) ที่เพิ่มขึ้น
ถัวเฉลี่ยแล้ว 13% ของแคลอรี่ประจำวัน ได้มาจากอาหารจ่านด่วน ระหว่าง ปี ค.ศ. 2003 กับ 2006 และขนาด (Size) ของปริมาณอาหาร ในภัตตาคารได้เพิ่มขึ้น 2 ถึง 3 เท่า ใน 20 ปีที่ผ่าน ในขณะเดียวกัน ก็มีการออกกำลังกายที่ลดลง ทั้งที่ทำงาน และในเวลาพักผ่อน (Leisure time)
ชาวอเมริกันที่ทำงานในทุ่งเกษตร (Agriculture) และในโรงงาน (Factory) อุตสาหกรรม มีจำนวนลดลง ในขณะที่ผู้ที่นั่งทำงานตลอดวัน มีจำนวนมากขึ้น ในคริสตทศวรรษ 1960s เกือบ 50% ของงานในสหรัฐอเมริกา ต้องอาศัยการออกกำลังกายอย่างน้อยระดับปานกลาง (Moderate) แต่ทุกวันนี้ ต่ำกว่า 20% ของงาน ต้องอาศัยพลังงานดังกล่าว
ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ การลดลงประมาณ 140 แคลอรี่ต่อวันในการออกกำลังกาย ซึ่งมีสหสัมพันธ์ที่ใกล้เคียงกับการเพิ่มน้ำหนักเฉลี่ยตลอดช่วงเวลา 50 ปี นอกจากการทำงานแล้ว ปัจจัยจากเทคโนโลยีและการออกแบบชุมชน (Community design) มีอิทธิพล (Influence) ต่อพฤติกรรมไม่เคลื่อนย้าย (Sedentary)
พัฒนาการขยายกิ่งก้านสาขา (Sprawling) ของชานเมือง (Suburb) นำไปสู่การเดินที่น้อยลง และการขับรถมากขึ้นเพื่อไปโรงเรียน หรือไปที่ทำงาน การนั่งชมโทรทัศน์ และกิจกรรมนั่งนิ่งประจำที่หน้าจอ (Screen) ได้กลายเป็นรูปแบบที่ครอบงำ (Pre-dominant) กิจกรรมในเวลาว่าง
แม้ว่าปัจจัยกรรมพันธุ์ (Hereditary) เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานและเพิ่มน้ำหนัก แต่ยีน (Gene) ภายในประชากรต้องใช้เวลาหลายชั่วอายุคน (Generation) ในการเปลี่ยนแปลง แต่ความเร็ว (Speed) ของการแพร่ระบาดของภาวะอ้วนเกิน ได้สร้างฐานที่มั่นคงในการหักล้างสาเหตุของยีนและสนับสนุนปัจจัยทางวัฒนธรรม (Culture) ที่เพิ่มการกินอาหารและลดการออกกำลังกาย
แหล่งข้อมูล -